วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555


การ์ดแสดงผล( Graphic Card ) และ ซีดีรอมไดร์ฟ ( CD-Rom Drive )


การ์ดแสดงผล (Grachip Card) คือ อุปกรณ์ที่ใช้แปลสัญญาณทางดิจิตอลให้เปลี่ยนเป็นสัญญาณภาพที่แสดงผลผ่านจอคอมพิวเตอร์ชนิดของการ์ดแสดงผลจะเป็นตัวกำหนดความเร็วในการแสดงผล ความละเอียด ความคมชัดของกราฟฟิก รวมททั้งจำนวนสีที่สามารถแสดงผลด้วย

การดูแลรักษาการ์ดแสดงผล(Display Card)
โดยทั่วไปการใช้งานในช่วง 1 ปีแรก มักจะไม่ค่อยมีปัญหา ส่วนใหญ่จะใช้งานไปได้ถึง 3 ปี โดยไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเราเลือกใช้การ์ดแสดงผลราคาถูก ก็อาจจะมีปัญหาบ้างในปีแรก แต่ก็ไม่มากนัก แต่ถ้าเป็นการ์ดแสดงผลยี่ห้อดังๆ จากอเมริกาที่มีราคาแพงจะมีความเร็วในการแสดงผลสูงมีลูกเล่นมากกว่าและมีการออกไดร์เวอร์ออกมาอย่างต่อเนื่อง

ซีดีรอมไดร์ฟ (CD-ROM Drive) คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดี มีความจำเป็นต้องใช้มากสำหรับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน เนื่องจากข้อมูล หรือโปรแกรมส่วนมากจะมีขนาดใหญ่ จะต้องบันทึกไว้ในแผ่นซีดี  ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลจะแตกต่างกันออกไปตามความเร็วของซีดีรอมไดร์ฟแต่ละตัวซีดีรอมไดร์ฟจะมีทั้งแบบติดตั้งภายในที่ติดตั้งถาวรไว้กับตัวเครื่อง ไม่เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้ายบ่อย ๆและแบบติดตั้งภายนอก จะต่อกับตัวเครื่องโดยใช้สายสัญญาณเป็นตัวต่อเชื่อมเหมาะสำหรับการเคลื่อนย้ายบ่อยๆทั้งสองแบบยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ IDE และ SCSI ส่วนใหญ่ IDE จะใช้สำหรับติดตั้งภายนอก และมักจะเป็น แบบอ่าน และ บันทึก

การดูแลรักษาซีดีรอมไดร์ฟ(CD-RomDrive)
ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบมัลติมีเดียหรือเป็นสื่อผสม ซึ่งจะต้องใช้สื่อบันทึกข้อมูลที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากขึ้น ซึ่งจะมีข้อมูลทั้งภาพและเสียง ดังนั้น แผ่นซีดีรอมจึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เมื่อมีแผ่นซีดีรอมเครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะต้องมีเครื่องผ่านแผ่นซีดีรอมที่เรียกว่า ซีดีรอมไดร์ฟ ข้อควรระวังก็คือ ไม่ควรนำแผ่นซีดี ที่เสียแล้ว หรือมีรอยขีดข่วนมากๆ มาอ่าน เพราะอาจทำให้หัวอ่านชำรุดได้ รวมถึงการใช้น้ำยาล้างหัวอ่านผิดประเภทด้วย ใช้น้ำยาทำความสะอาดสำหรับเครื่องคอมฯ เช็ด บริเวณด้านนอก โดยอาจใช้พู่กันเล็กๆ ช่วยในการปัดฝุ่นออกเสียก่อน จากนั้นจึงใช้น้ำยาทำความสะอาดเช็คเครื่องคอมฯ ข้อควรระวัง! โดยปกติน้ำยาเหล่านี้ ห้ามเช็คหน้าจอ ถ้ามีฝุ่นหรือคราบนิ้วมือ ให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดก็เพียงพอแล้ว (ทิป น้ำยาทำความสะอาด โดยทั่วไป การใช้ควรใส่น้ำยาบนผ้าที่สะอาดจากนั้นลูบไปบริเวณตัวเครื่องทิ้งไว้สักพักและค่อยเช็ดออกจะช่วยลดแรงในการขัดได้มาก)

วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์ Hand Disk (HDD)



Hard Disk (HDD)
ฮาร์ดิสมีส่วนสำคัญ คือ ส่่วยประมวลผล ส่วนรับข้อมล และส่วนแสดงผล แต่ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลมาประมวลผลต้องมีข้อมูล ซึ่งข้อมมูลนั้นจะต้องถูกนำมาจากที่แห่งหนึ่งนั้นก็คือส่วนที่เรียกว่า storage ซึ่งคอมพิวเตอร์ในยุคแรกจะเป็นกระดาษที่เป็นรู ซึ่งใช้งานยาก จากนั้นได้พัฒนามาเป็นดิสก์เก็ต ต่อมาเนื่องจากข้อมมูลมากเกินไปทำให้การเก็บข้้อมมูลไม่เพียงพอต่อมมจากทำ Hand Disk ในปัจจุบันโดยจะมีจำนวนหน้าการเก็บข้อมูล มากกว่า 2 หน้า  ส่วนใหญ๋ประกอบด้วยแม่เหล็กมากกว่า 2 แผ่นเรียงกันอยูู่ บนแกน spindle ทำให้แผ่นเหล็กหมุนไปพร้อมๆกัน hand disk ใช้หัวอานเพียงหัวเดียว ทั้งอ่านและเขียนข้อมูล ในการเขียนข้อมมูลหัวอ่านจะไ้รับกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าสู่คอยล์ของหัวอ่าน เพื่อรับข้อมูล เป็นการแปลงความหนาแน่นของสารแม่เหล็กที่เคลือบอยู่บนดิส  ออกมาให้กับ CPU เพื่อทำการประมวลผลส่วนการเก็บข้อมูล จะถูกจัดเก็บอยู่ในรูปแบบสัญญาณดิจิตอล โดยเก็บเป็นเลขฐาน 2 คือ 0 และ 1 การเก็บข้อมูลก้จะเริ่ม

การบำรุงรักษา
การจัดเรียงข้อมมูลในฮาร์ดดิสเสียใหม่เพื่อให้ Hand disk ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ทุกครังที่เราเขียนข้อมูล ไม่ว่าจะด้วยการติดตั้งข้อมูลใหม่ หรือว่าจะใช้คำสั่ง save จากโปรแกรมใดๆ ก้ตาม หรือการ ดาวโหลด ข้อมูล โปรแกรมจากอินเตอร์เน็ต รวมไปถึงการ copy ข้อมูลลงไปฮาร์ไดฟ์นั้น สิ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์สั่งให้ hand disk ทำนั้น คือ เขียนข้อมมูลเหล่านั้นลงบน Hand disk ซึ่งการเขียนข้อมูลบน Hand disk จะไม่เหมือนการเขียนข้อมมูลลงในกระดาษหรือหนังสือ   แต่โครงสร้าง Driver จะแบงออกเป็นส่วนย่อยๆ เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องเข้าไปจองพื้นที่ โดยที่ไม่สนใจว่าพื้นที่เต็มหรือไม่ แต่ว่าตอนแรกนั้นข้อมมูลก็ยังเป็นระเบียบอยู่ แต่เมื่อใช้งานหนักมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะ แอพพลิเคชั่น ต่างๆ บนวินโดว์จำเป็นต้องเปิดไฟล์หลายๆไฟล์พร้อมๆกัน รวมถึงการเขียนและลบไฟล์บ่อยๆ จะทำให้ข้อมมูลกระจายออกไป

วิธีบำรุงรักษา Hand Disk แบบง่ายๆ (  Window 7 )
ไปที่ Start > Accessories > System > Disk Defragmenter
* การ Defragmenter ควรทำ 2 เดือนต่อครั้ง หรือขึ้นอยู้กับ Read/Write บน Hand Disk  ของเรา


 
 




วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อุปกร์เมนบอร์ด



เมนบอร์ด ( Mainboard )
เมนบอร์ด คือ แผงวงจรขนาดใหญ่ที่รวบรวมเอาส่วนประกอบหลักๆที่สำคัญของคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน มีลักษณะเป็นแผ่น circuit board รูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งเต็มไปด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน ดังนั้นเมนบอร์ดจึงเปรียบเสมือนศูนย์กลางในการทำงานเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นซีพียู แรม ฮาร์ดดิส ซีดีรอม และการ์ดต่างๆ

สาเหตุที่ทำให้อุปกรณ์เมนบอร์เสีย
1. เกิดจากการผิดพลาดในการผลิต
2.อายุการใช้งาน ตามสภาพ
3.จากการกระทำที่เกินความสามารของเมนบอร์ด เช่น การทำโอเวอร์คล๊อก
4. เกิดจารกระแสไฟลัดวงจร
5.จากการประกอบที่ไม่ถูกต้อง
6. หนู อันนี้มักเกิดจากเปิดฝาเครื่องทิ้งไว้และอาจจะมีหนูในห้อง
7.ความร้อนและความชื้น ทั้งสองอย่างถ้ามีมากเกินไป
8. สุดท้ายก้ยังอาจจะมีสาเหตุอื่น เปนสาเหตุที่อาจพบขึ้นเอง

การบำรุงรักษาอุปกรณ์
เมื่อมีการถอดอุปกรณ์เมมบอร์ดออกจากเครื่องควรพยายามถอดออกอย่างระัดระวัง และควรทำการปัดฝุ่นให้สะอาด ระวังอย่าให้เมมบอร์ดโดนน้ำหรือตกหล่น เพราะจะทำให้อุปกรณ์ชิ้นน้อบนเมมบอร์เกิดชำรุด หรือหลุ่นหายทำให้เมมบอร์ดใช้งานไม่ได้อีกเลย เมื่อนำอุปกรณ์เมนบอร์ดมาตรวจสอบความเรียบร้อยพร้อมกับทำความสะอาดอย่างระมัดระวังก็ถึงเวลานำมาประกอบกับเครื่อง ก็ควรระวังเป็นพิเศษ ตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้ครบแลเวประกอบเข้าเครื่อง เมื่อเรารู้สึกว่าเกิดขัดข้องบนอุปกรณ์เมนบอร์ดขึ้นก็พยายามตรวจสอบและดูแลรักษาหรือให้ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะเป็นผู้กระอุปกรณ์

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

17 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับฮาร์ดิส

ผู้คนส่วนมากมีความเชื่อต่างๆ นานาเกี่ยวกับ HDD.และการใช้งาน HDD.ซึ่งเป็นความเชื่อบางอย่างที่มันเป็นความเชื่อ ที่ผิดๆ และทำให้เราไม่สามารถใช้งาน HDD. ได้อย่างเต็มที่ เรามาดูกันว่าความเชี่อเหล่านั้นมีอะไรบ้าง และข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
  ความเชื่อที่ 1 : การฟอร์แมต HDD.บ่อยๆ อาจทำให้อายุการใช้งานของ HDD.สั้นลง

ข้อเท็จจริง : การฟอร์แมต HDD.ไม่ว่าจะกี่ครั้งก็ตาม จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของ HDD.แต่อย่างใด ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่หลายๆ คนจะคิดว่ามีส่วนทำให้อายุการใช้งานสั้นลง แต่จริงๆ แล้ว เป็นความเชื่อที่ผิดๆ เท่านั้น การฟอร์แมต HDD. ไม่ถือเป็นการทำงานที่จะทำให้ HDD.ต้องแบกรับภาะหนัก หัวอ่านของ HDD.จะไม่มีการสัมผัสกับแผ่นจานข้อมูลแต่อย่างใด (Platter) ระหว่างการฟอร์แมต สรุปแล้วก็คือ เราสามารถฟอร์แมต HDD. 30 ครั้งต่อวัน ทุกวันเลยก็ได้ อายุการใช้งานมันก็จะไม่ต่างจากจาก HDD. อื่นๆ เลย

ความเชื่อที่ 2 : การฟอร์แมต HDD.จะทำให้มีข้อมูล หรือปฎิกรณ์  อะไรสักอย่าง วางซ้อนเพิ่มบนแผ่นดิสก์ ซึ่งมีผลทำให้เกิด bad sector ได้

ข้อเท็จจริง : การฟอร์แมตจะไม่ทำให้เกิดข้อมูล หรืออะไรทั้งนั้นที่แผ่น HDD. เนื่องจาก HDD.เป็นระบบปิด ดั้งนั้นฝุ่นหรือปฏิกรณ์จะ ยากที่จะเข้าไปยังดิสก์ได้ และแม้จะมีฝุ่นก็ตามแต่ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่ฝุ่นจะต้องมากับการฟอร์แมต

ความเชื่อที่ 3 : การฟอร์แมต HDD. จะมีความเค้นต่อเข็มหัวอ่าน (head actuator) สูง

ข้อเท็จจริง : การฟอร์แมตมีการอ่านในแต่ละเซ็กเตอร์อย่างต่อเนื่อง และเป็นลำดับชั้น เช่น เซ็กเตอร์ที่ 500 เซ็กเตอร์ที่ 501 เซ็กเตอร์ที่ 502 และต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ ทำให้มีการเคลื่อนตัวของเข็มหัวอ่านน้อยมาก ดังนั้น ข้อเท็จจริงของความเชื่อนี้ก็คือ การฟอร์แมตจะไม่มีความเค้นสูงต่อเข็มหัวอ่าน HDD.

ความเชื่อที่ 4 : การดีแฟรกเมนต์ (defragmenting) HDD.จะมีความเค้นที่หัวอ่านสูง

ข้อเท็จจริง : ข้อนี้ถือว่าเป็นเรื่องจริง เพราะการดีแฟรกเมนต์ต้องอาศัยการควานหาตำแหน่งของเซ็กเตอร์อย่างสูง เนื่องจากการดีแฟรกเมนต์ก็คือการจัดระเบียบเซ็กเตอร์ต่างๆ เพื่อไม่ให้หัวอ่านต้องทำงานหนักเวลาที่ใช้หาข้อมูลในการใช้งานจริง ดังนั้น แม้ในกระบวนการดีแฟร็กเมนต์ จะทำให้เข็มหัวอ่านมีความเค้นสูงก็ตาม แต่หลังจากที่ได้ทำการดีแฟรกเมนต์แล้ว เข็มหัวอ่านก็ไม่ต้องทำงานหนัก เหมือนก่อนที่จะทำการดีแฟรกเมนต์ เพราะจะหาเซ็กเตอร์ได้เร็วขึ้น สะดวกขึ้น

ความเชื่อที่ 5 : ถ้า HDD.ของคุณมี bad sector อยู่แล้ว การฟอร์แมต HDD.จะยิ่งทำให้ เกิดเซ็กเตอร์เสียเพิ่มขึ้น

ข้อเท็จจริง : ถ้า HDD. ของคุณมีเซ็กเตอร์เสียอยู่แล้ว แน่นอนว่าเมื่อใช้งานไปเรื่อยๆ จะต้องพบเซ็กเอตอร์เสียเพื่มขึ้นเรื่อยๆ การฟอร์แมตแล้วเห็นเซ็กเตอร์เสียเพิ่มขึ้นนั้น สาเหตุไม่ได้เป็นเพราะการฟอร์แมต เพียงแต่ว่าการฟอร์แมตจะทำให้เราได้พบเห็นเซ็กเตอร์ที่เสียเพิ่มขึ้นนั่นเอง เพราะยูทิลิตี้สำหรับทำการฟอร์แมตนั้น จะสแกนและตรวจสอบ HDD.ด้วย ทำให้พบเห็นเซ็กเตอร์ที่เสียเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา

ความเชื่อที่ 6 : การดาวน์โหลดโปรแกรมและไฟล์ต่างๆ จากอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก จะทำให้ อายุการใช้งานของ HDD.สั้นลง

ข้อเท็จจริง : การดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ตไม่ทำให้อายุการใช้งานของ HDD.ลดน้อยลงไป HDD.จะมีการหมุนอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะมีการดาวน์โหลดไฟล์ หรือว่าไม่ได้ทำอะไรเลยก็ตาม ดังนี้โอกาสที่จะเสียขณะทำการดาวน์โหลด กับขณะที่เปิดคอมพิวเตอร์ไว้เฉยๆ ก็มีเท่ากัน อายุการใช้งานท่าเดิม

ความเชื่อที่ 7 : พลังงาน (กระแสไฟ) ที่ไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเซ็กเตอร์เสีย
ข้อเท็จจริง : กระแสไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอ กับกระแสไฟฟ้าถูกตัดทันทีทันใด จะไม่ก่อให้เกิดเซ็กเตอร์เสีย เพราะในช่วงที่กระแสไฟไม่เพียงพอ หรือมีการตัดกระแสไฟนั้น เข็มหัวอ่านจะพักตัวโดยอัตโนมัติเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อแผ่นดิสก์ ดังนั้น จึงไม่มีทางที่จะมีการสร้างเซ็กเตอร์เสียได้ ที่เสียหายก็อาจเป็นความเสียหายของ OS.มากกว่า

ความเชื่อที่ 8 : ระบบกำลังไฟ หรือระบบสำรองไฟที่มีราคาถูก และไม่มีคุณภาพ อาจจะบั่นทอน อายุการใช้งานของ HDD.เรื่อย ๆ และทำให้ HDD.ตายลงอย่างช้า ๆ

ข้อเท็จจริง : ระบบกำลังไฟหรือระบบสำรองไฟที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน จะไม่ทำให้ HDD.ตายลงอย่างช้าๆ แต่หากระบบไม่สามารถควบคุมกระแสไฟได้ จนทำให้กระแสไฟฟ้าปริมาณมากไหลทะลักสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อาจทำให้ HDD.ตายในทันที ไม่ใช่ตายลงอย่างช้า ๆ แต่ถ้าไม่สามารถให้กระแสไฟเพียงพอแก่การทำงานได้ ดิสก์ก็แค่มาสามารถทำงานได้เต็มที่ ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ หรืออาจไม่ทำงานเลย แต่ HDD.จะไม่ตาย แต่ OS อาจตายหรือ พิการ

ความเชื่อที่ 9 : ถ้า HDD. มีการหมุนความเร็วของดิสก์แบบขึ้นๆ ลงๆ นั่นเป็นเพราะว่า ระบบสำรองไฟในบางครั้งสามารถส่งกระแสไปที่พอสำหรับการทำงานได้ มันจึงหมุนเร็วขึ้น แต่เมื่อมันไม่สามารถให้กระแสไฟที่เพียงพอได้ มันจึง หมุนช้าลง

ข้อเท็จจริง : ในกรณีที่กำลังไฟตกฮวบ มันจะทำให้ระบบทั้งหมดถูกตัดไฟ ชะงักการทำงาน และจะทำให้เครื่องแฮงก์ ซึ่งแน่นอนว่าจะไม่มีการหมุนของ HDD.ให้เห็นอย่างแน่นอน หมุนเร็วขึ้นหมุนลดลงนั้น เป็นการการปกติของ HDD. ที่จะทำการวัดขนาดของดิสก์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเตรียมความพร้อมในการใช้งานแต่ละครั้ง

ความเชื่อที่ 10 : เสียงคลิกที่ได้ยินจาก HDD. เกิดจากการพักการทำงานของหัวอ่าน

ข้อเท็จจริง : เสียงคลิกที่ได้ยินจากการทำงานของ HDD. อาจเป็นได้ทั้งเสียงการเตรียมพร้อมที่จะเขียนข้อมูล (เหมือนอย่างในความเชื่อที่ 9) หรืออาจเป็นเสียงการสะดุดของหัวอ่านบนแผ่น HDD.

ความเชื่อที่ 11 : เข็มหัวอ่านใช้มอเตอร์ในการทำงาน ซึ่งการทำงานของมอเตอร์นี้ อาจล้มได้หากมีการใช้งานมากเกินไป

ข้อเท็จจริง : เข็มหัวอ่านในปัจจุบัน ไม่มีการใช้มอเตอร์ในการทำงานแต่อย่างใด ดังนั้น ก็ไม่มีมอเตอร์ที่จะล้มเหลวเมื่อมีการใช้งานมากเกินไป สมัยก่อนนั้น เข็มหัวอ่านเคยใช้มอเตอร์เดินไปยังตำแหน่งที่ต้องการ แต่ปัจจุบัน เข็มหัวอ่านใช้ระบบ Voice Call Mechanism ซึ่งก็คือการใช้แรงแม่เหล็กไฟฟ้าในการเคลื่อนหัวอ่านไปตามตำแหน่งที่ต้องการ

ความเชื่อที่ 12 : การจอดพักของหัวอ่าน ทำให้มอเตอร์เข็มหัวอ่านเสื่อมเร็ว
ข้อเท็จจริง : ก็เหมือนกับความเชื่อข้อที่ 11 นั่นคือไม่มีมอเตอร์ นอกจากนี้การจอดพักการทำงานของหัวอ่าน HDD. นั้นจะมีขึ้นโดยอัตโนมัติในกรณีที่กระแสไฟถูกตัด หรือ HDD. หยุดการทำงาน ดังนั้นการจอดพักนี้ ไม่ใช่กระบวนการที่มีการทำงานบ่อย หรือที่มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง เข็มหัวอ่านจะมีสปริงคอยควบคุมตำแหน่งของมัน เมื่อมีกระแสไฟเข็มหัวอ่านก็จะอยู่ในตำแหน่งที่มีการต้านแรงของสปริง และเมื่อไม่มีกระแสไฟ เข็มหัวอ่านก็จะถูกดันให้อยู่ในตำแหน่งจอดพัก ดังนั้น แม้ว่าเข็มหัวอ่านจะมีมอเตอร์ลี้ลับนี้จริง การจอดพักของเข็มหัวอ่านก็จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้มอเตอร์ดังว่ามี การ เสื่อมแต่อย่างใด

ความเชื่อที่ 13 : ดิสก์จะมีการหมุนเร็วขึ้นเวลาที่มีการอ่านหรือเขียนข้อมูลเท่านั้น แต่จะหมุนลดลงเมื่อ HDD .ไม่มีกิจกรรม (idle)

ข้อเท็จจริง : แผ่นดิสก์ภายใน HDD. หรือที่เรียกว่า platter นั้นมีการหมุนในความเร็วระดับเดียวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการ อ่าน เขียน หรือ พัก (idle) ยกเว้นแต่เจ้าของเครื่องใช้คำสั่งให้มีการหมุนลดลงในช่วง idle เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน

ความเชื่อที่ 14 : การหมุนลดลงจะทำให้ลดความเค้นที่มอเตอร์ขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ได้

ข้อเท็จจริง : โดยปกติแล้วแผ่นดิสก์จะเริ่มหมุนตอนเครื่อง startup และจะหมุนอยู่อย่างนั้นจน shutdown ในช่วงที่มีการหมุนอยู่นั้น ถือเป็นช่วงที่มีความเค้นสูงสุดต่อตัวมอเตอร์แล้ว ส่วนการรักษาความเร็วของการหมุนให้คงที่นั้น จะใช้กำลังน้อยลงมา หากมีการใช้คำสั่งให้แผ่นดิสก์หมุนลดลงในช่วง idle นั้น ทุกครั้งที่มีการเขียน หรืออ่านไฟล์ใด ๆ ก็จะต้องมีการหมุนเพื่อให้เร็วขึ้นเพื่อให้ได้ความเร็วปกติ ก่อนที่จะอ่านหรือเขียนได้ ดังนั้น ควรที่จะให้ดิสก์มีการหมุนที่ความเร็วคงที่ตลอด เพื่อลดความเค้นที่ตัวมอเตอร์

ความเชื่อที่ 15 : การตัดกระแสไฟอย่างทันทีทันใดอาจทำให้เกิดเซ็กเตอร์เสีย

ข้อเท็จจริง : เซ็กเตอร์เสีย หรือ bad sector นั้น ไม่ได้เกิดจากการปิดหรือการดับเครื่องอย่างทันทีทันใด แต่เมื่อสมัยก่อนนานมาแล้ว ก่อนปิดเครื่องทุกครั้ง ผู้ใช้จะต้องพักจอดหัวอ่าน HDD.ก่อนที่จะสามารถปิดเครื่องได้ แต่ปัจจุบัน ระบบหัวอ่านแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะทำการจอดพักตัวเองโดยอัตโนมัติทุกครั้งที่กระแสไฟฟ้าถูกตัดจากระบบ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่เกิดความเสี่ยงว่าจะเกิด bad sector จากกรณีการตัดกระแสไฟ

ความเชื่อที่ 16 : เซ็กเตอร์เสียบางอัน เป็นเซ็กเตอร์เสียแบบเวอร์ชัวล์ (คือเป็นที่ซอฟต์แวร์ไม่ใช่ฮาร์ดแวร์) และสามารถแก้ไขได้โดยการทำฟอร์แมต HDD.

ข้อเท็จจริง : เซ็กเตอร์เสียแบบเวอร์ชัวล์ไม่มีอยู่จริง เซ็กเตอร์ที่เสียนั้น คือเซ็กเตอร์(หรือช่องอันเป็นส่วนหนึ่งของดิสก์สำหรับการเก็บข้อมูล) ที่ไม่สามารถทำการอ่านหรือเขียนได้ เนื่องจากมีการเสียหารทางกายภาพ เช่น ถูกทำลาย หรือทีการเสื่อมลง ดังนั้น จึงไม่สามารถซ่อมแซมด้วยกระบวนการทางด้านซอฟต์แวร์ได้

ความเชื่อที่ 17 : เซ็กเตอร์เสีย สามารถถูกลบได้โดยการฟอร์แมต HDD.

ข้อเท็จจริง : การฟอร์แมตในระดับต่ำ จะสามารถทดแทนเช็กเตอร์เสียด้วยเซ็กเตอร์ดีได้ โดยอาศัยพพื้นที่ว่างสำรองบน HDD. อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของ HDD. ก็จะลดลงเนื่องจากหัวอ่านจะต้องทำการค้นหาพื้นที่สำรองบน HDD.ด้วย อีกทั้งพื้นที่สำรองบน HDD.นั้นมีจำนวนจำกัด

สรุปแล้ว bad sector ก็คือ สัญญาณเตือนภัยอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงข้อบกพร่องบางอย่างของ HDD. แม้ bad sector นั้นจะเกิดจากการชนของหัวอ่าน (crash) เพียงครั้งเดียว แต่ซากที่เหลือจากการชนครั้งนั้น รวมทั้งหัวอ่านที่อาจได้รับความเสียหาย อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อไปในอนาคตได้ เช่น อาจทำให้เกิดรอยขีดข่วนบนแผ่นดิสก์เพิ่มมากขึ้น หรืออาจทำให้ความเร็วในการหมุน หรือการอ่านลดลง ดังนั้น ถ้ามีข้อมูลที่สำคัญที่ต้องการเก็บรักษาไว้อย่างมั่นคง ควรหัดทำการแบ็คอัพข้อมูล และเปลี่ยน HDD.เมื่อพบว่ามีปัญหาบางอย่าง เช่น การค้นพบ bad sector เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่า HDD.จะสามารถทำงานได้ต่อไป และนานๆครั้งจะพบว่าเกิด bad sector เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือสัญญาณบอกว่า HDD. ของคุณมันใกล้ตายแล้ว

ล้างไฟล์ขยะในคอมพิวเตอร์


ก่อนอื่นขอเรียนเตือนท่านที่ใจเสาะ ซ่อมแซมไฟล์ไม่เป็น  หรือไม่พร้อมที่จะทดลอง  โปรดมองข้ามกระทู้นี้ไป
สำหรับท่านที่ใจถึง
  และไม่กลัวการเสี่ยง   เพราะสามารถซ่อมแซม  ทำ System Restore หรือ  Ghost ได้  จะกลัวอะไร
ก็เชิญเข้าไปดูไปดูดได้เลย
  กระทู้ค่อนข้างยาว  เพราะมีหลากหลายวิธีการ  และต้องตามล่าตามลบหลายจุด
ความจริงการลบไฟล์ขยะควรต้องทำเป็นประจำอย่างน้อย
10 - 15 วันต่อครั้ง หรือน้อยวันกว่านั้น
เพื่อให้เครื่องสะอาด
  เบา  ทำงานน้อยลง  และแรงเร็วขึ้นกว่าเดิม (เฉพาะ Windows xp)
ขอถาม........คุณแน่ใจหรือว่า
  วิธีที่คุณทำเป็นประจำอยู่นั้น  ไฟล์ขยะถูกกำจัดไปหมดจดเกลี้ยงเกลาแล้ว
เรามาเริ่มที่วิธีลบไฟล์ขยะโดยไม่ใช้โปรแกรมกันก่อน
  รวม 8 ขั้นตอน  แล้วต่อด้วยวิธีลบไฟล์ขยะโดยใช้โปรแกรมช่วย 
1. คอมพ์จะบันทึกไฟล์เก็บไว้ใช้งานครั้งต่อไป  เพื่อคราวหน้าจะทำให้ทำงานได้เร็วขึ้น  
แต่มีผลเสียคือเครื่องจะบันทึกไฟล์ไว้มากมาย
  ไม่มีการลบถึงแม้ต่อมาไม่ได้ใช้งานอีกก็ตาม 
บางท่านค้านว่าปัจจุบัน ถ้าเรามีแรมมากกว่า
1 GB อย่าไปห่วงเรื่องไฟล์พวกนี้เลย จิ๊บจ๊อยมาก 
แตไฟล์ที่ไม่ค่อยได้ใช้หรือไม่ได้ใช้อีกแล้ว
  มันคือไฟล์ขยะ จะเก็บไว้ทำไมให้เกะกะเปลืองเนื้อที่ 
ไฟล์ขยะนี้ถูกเก็บไว้ที่

C:\windows\prefetch  เราสามารถลบไฟล์ซึ่งอยู่ในโฟลเดอร์ Prefetch นี้ได้ทั้งหมด ไม่มีผลเสียต่อเครื่องทั้งสิ้น8 c5
โดยกดปุ่ม
Ctrl+A (เลือกทั้งหมด) แล้วกด Shift+Delete (ให้ลบแบบถาวร) แล้วกด Yes เพื่อยืนยันการลบ
ถ้าสั่ง
Delete แบบธรรมดา  เครื่องจะเอาไปเก็บไว้ที่ Recycle Bin ต้องตามไปลบซ้ำอีกครั้งจึงจะหมดจด
2. ลบไฟล์ในโฟลเดอร์ Temp ซึ่งเป็นพื้นที่จำลองที่โปรแกรมต่าง ๆ สร้างขึ้นเป็นไฟล์ชั่วคราว
ถูกเก็บอยู่ใน
  C:\Documents and Settings\Administrator\Local Setting\temp
โดยไปที่
Start---> run---> พิมพ์คำสั่ง %Temp%  แล้วกด Ok หรือ Enter จะปรากฏหน้าต่างใหม่ขึ้นมา
ลบไฟล์ที่ปรากฏนั้นให้หมดซึ่งเป็นไฟล์ไม่จำเป็น ไม่เสียหายใด ๆ ต่อเครื่อง
  โดยคำสั่ง Delete แบบปกติ
หรือไปที่เมนู
Edit แล้วเลือก Select All เพื่อเลือกไฟล์ทั้งหมด กดปุ่ม Shift + Delete เพื่อลบไฟล์ขยะแบบถาวร กด Yes เพื่อยืนยัน
ถ้าลบไม่ได้ เพราะไฟล์บางตัวอาจยังถูกใช้งานอยู่
  ก็เอาไว้ลบทีหลังเมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ ๆ  หรือใช้โปรแกรมนี้  http://anonym.to?http://www.filehippo.com/download_unlocker/  ช่วยจัดการลบให้ก็ได้
3. ไฟล์ขยะ เป็นไฟล์ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง บางทีทำให้เครื่องช้า และรวนได้  คือไฟล์ที่มีนามสกุล .tmp .old .bak .chk .htt
วิธีลบไปที่
Start---> Search  คลิกที่ All file and folders  พิมพ์คำสั่ง .tmp;.old;*.bak;*.chk  ลงในช่อง All file and folders (ช่องแรก)
คลิกปุ่ม
Search  รอโปรแกรมค้นหาเสร็จ ก็กดปุ่ม Ctrl+A (ให้เลือกทั้งหมด) แล้วกด Shift+Delete (ให้ลบแบบถาวร)
แล้วกด
Yes เพื่อยืนยันการลบ  ถ้าลบไม่ได้ ให้กลับไปทำคล้ายกับช่วงท้ายของข้อ 2
4. ไฟล์ SQM (Software Quality Matrics) คือไฟล์ขยะ จะพบถูกซ่อนอยู่ที่ Drive ที่ทำการติดตั้ง Windows
โดยได้สร้างขึ้นจากโปรแกรม
Windows Live Messenger ซึ่งข้อมูลไฟล์เหล่านี้จะเก็บไว้ใช้สำหรับรอส่งกลับไปยัง
เพื่อตรวจสอบ Error หรือ Bug ของโปรแกรมต่างๆ แล้วใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไข
ไฟล์เหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นทุกครั้งที่เปิดใช้งาน
Windows Live Messenger
วิธีลบไปที่
Start---> run---> พิมพ์คำสั่ง CMD กด Enter  จะปรากฏหน้า Dos ขึ้นมา
จากนั้นพิมพ์
Del /s /f \*.sqm ใส่ลงไปใน Dos แล้วกด Enter  แล้ว Dos จะรายงานว่าได้ลบอะไรไปบ้าง  จบ
5. ลบไฟล์ขยะอย่าให้เหลือตกค้าง เมื่อคุณสั่ง Delete เพื่อลบไฟล์ ในทางทฤษฎีไฟล์นั้นยังไม่ถูกลบออกไปจริง ๆ คงเหลือร่องรอยทิ้งอยู่ (อาจกู้ได้)
เพียงแต่วินโดวส์จะแสดงว่าในพื้นที่ส่วนนั้น ๆ เป็นที่ว่าง และสามารถเขียนทับตำแหน่งนั้นได้

นอกจากนี้ยังถูกนำไปเก็บไว้ในถังขยะ (
Recycle Bin) เผื่อเกิดเปลี่ยนใจจะได้สั่งนำกลับมาใหม่ได้ง่าย ๆ
หากมั่นใจว่าไม่ใช้งานแล้ว หรือเป็นข้อมูลปกปิดส่วนตัว
  โดยเฉพาะไฟล์ตามข้อ 1 และข้อ 2 ควรตามไปลบซ้ำให้สิ้นซาก
โดยคลิกขวาที่ไอคอน
Recycle Bin แล้วเลือกคำสั่ง Empty Recycle Bin
6.  ด้วยวิธีการง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ การเข้าอินเตอร์เน็ตในครั้งต่อไป คุณก็จะไม่ต้องกังวลกับปัญหาไฟล์ขยะและไวรัสอีกต่อไป
Internet Explorer :  คลิกเมนู Tools ---> Internet Options  คลิกเลือกแถบ Advanced แล้วเลื่อนลงมาที่หัวข้อ Security
คลิกเลือกหัวข้อ
Empty Temporary Internet Files folder when browser is closed  แล้วกดปุ่ม Apply แล้ว OK*
Firefox  :  คลิกเมนู Tools ---> Options  คลิกเลือกแถบ Privacy แล้วลงมาคลิกทำเครื่องหมายถูกที่หัวข้อ  Clear
จากนั้นคลิกที่
Settings  จะมีหน้าต่างใหม่ขึ้นมา   คลิกทำเครื่องหมายถูกเพิ่มที่หัวข้อ  Saved passwords  แล้วกดปุ่ม OK
เอาแค่สองตัวก่อน ส่วนเบราเซอร์อื่น ๆ ก็มีวิธีปรับตั้งในทำนองเดียวกัน
  โปรดศึกษาจากวิธีใช้
7. เชื่อไหมว่า  เราลบขยะมาตั้ง 6 ขั้นตอนแล้ว  มันยังคงมีไฟล์ขยะที่ไม่จำเป็นหลบซ่อนอยู่ในเครื่องของเราอีกไม่น้อย
สำหรับไฟล์ขยะที่เหลือ เราจะค้นหาตามล่าด้วย
Search โดยคลิกปุ่ม Start เลือกคำสั่ง Search เลือก All files and
จากนั้นคลิกปุ่มเครื่องหมายลูกศรชี้ลงที่
What size is it คลิกเลือก Large (ใหญ่) แล้วกดปุ่ม Search
รอสักพักเราจะพบไฟล์ขนาดใหญ่กว่า
1 MB  ทั้งคลิป ภาพ เพลง เกมส์ และอื่นๆ ที่เราลืมไปแล้วหรือไม่ได้เล่นนานแล้วปรากฏขึ้น
ขั้นตอนนี้ก่อนสั่งลบขอให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่ต้องการแน่ ๆ และไม่ใช่ไฟล์ที่ระบบต้องใช้
  ระวังคอมพ์เดี้ยง
8. ปรับค่าใน System Restore  มันเกี่ยวกับไฟล์ขยะคือทำให้ผลิตขยะน้อยลง ตามปกติ Windows xp จะกันพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้ Restore
โดยกันเป็นร้อยละ
  ยิ่งถ้า HDD มีขนาดใหญ่ System Restore จะกันไว้มากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่จำเป็นสักเท่าไหร่)
มาปรับลดกันเถอะ โดยคลิกขวาที่
My computer---> Properties จะมีหน้าต่างใหม่ขึ้นมา คลิกที่แถบ System Restore
เลือก
C:  แล้วกด Setting  และเลื่อนลูกศรจากสูงสุดมาทางต่ำสุดเหลือสัก 4 - 5% ก็พอเพียง  แล้วกด Ok หรือ
แล้วอย่าลืมไปปรับตั้งที่
D: ด้วยนะ

หรือไม่ใช้ก็ปิด
System Restore ไปเลยดีกว่า  โดยทำเครื่องหมายถูกที่ Turn off System Restore on all drives แล้วกดยอมรับ